วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์




ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่สามารถรู้เห็นด้วยสายตาและเข้าใจร่วมกันได้ ดังนั้นทัศนศิลป์ จึงได้แก่งานวิจิตรศิลป์จำพวกศิลปะทางกายภาพซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตา ได้  อันประกอบด้วยจิตรกรรม ประติมากรรม (หรือปฏิมากรรม) และ สถาปัตยกรรมดังกล่าวมาในหัวข้อที่แล้ว

            การศึกษาทัศนศิลป์นับว่าเป็นการเรียนรู้วิชาศิลปะกับชีวิตอย่างแท้ จริง  เพราะเป็นการเรียนรู้ศิลปะที่อยู่ใกล้ตัวและจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติพร้อมกันไป  จึงจะทำให้เกิดทักษะขั้นพื้นฐาน  มีความรู้ความเข้าใจในศิลปะและสามารถเห็นคุณค่าของศิลปะ  รวมถึงการเป็นคนรักศิลปะได้อีกด้วย

องค์ประกอบศิลป์
        องค์ประกอบ หมาย ถึง  ส่วนย่อยต่างๆ ที่นำมาประกอบกันเข้าให้เป็นส่วนรวม เช่น  ร่างกายของคนเราก็ต้องประกอบด้วยลำตัว  ศีรษะ แขน ขา ฯลฯ เป็นองค์ประกอบของร่างกาย ในทาง ศิลปะ องค์ประกอบศิลป์ก็คือการนำเส้น  สี แสงเงา น้ำหนัก ฯลฯ มาประกอบกันเข้าให้มีความ งาม ความกลมกลืน และการประสานกันอย่างมีเอกภาพ
        องค์ประกอบศิลปะ แต่ ละหน่วยหรือแต่ละอย่างจะมีลักษณะของตัวเอง  มีคุณสมบัติอยู่ในตัว เช่นเดียวกับส่วนประกอบของอาหารแต่ละอย่าง  เมื่อนำเอามาประกอบกันเข้าอย่างได้ส่วนสัดที่ดี  ย่อมมีความกลมกล่อม อาหารก็อร่อยถึงขั้น “รสโอชา”
        การจัดองค์ประกอบ ศิลปะ  เป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างงานศิลปะทุกแขนง ทั้ง จิตรกรรม  ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ฯลฯ เพราะทุกอย่างที่มนุษย์สร้าง สรรค์ขึ้น ล้วนแต่ประกอบด้วยส่วนประกอบย่อยๆ  เมื่อนำเอาส่วนประกอบเหล่านั้นมารวมเข้าด้วยกันก็จะบังเกิดผลงานแก่งานศิลปะ นั้นๆ

หลักในการจัดองค์ประกอบในงานศิลป์
        การที่จะนำเอาองค์ประกอบ ศิลปะมาจัดนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานเบื้องต้น  ซึ่งเปรียบได้กับการเรียนรู้คุณค่าทางโภชนาการว่าจะให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง

พื้นฐานเบื้องต้นของการจัดองค์ประกอบศิลปะ มีอยู่  4  ประการ ดังต่อไปนี้


1. เอกภาพ  (Unity)  หมายถึง การจัดภาพให้บังเกิดส่วนสัมพันธ์เป็นหน่วยหรือกลุ่มเดียว กัน  ไม่กระจายหรือเกิดความสับสนในภาพนั้นๆ ภาพที่มีการจัดอย่างมีเอกภาพจึง เป็นภาพที่มีการจัดหน่วยขององค์ประกอบอย่างมีความสัมพันธ์กันหรือเป็นกลุ่ม เดียวกันตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่งของภาพนั้นๆ  ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่มีความคิดอิสระเสรีในการ จัดตามที่คิดว่าการจัดเช่นนั้นจะให้ความรู้สึกต่างๆ หรือชักจูงความสนใจ ของคนในลักษณะต่างๆ

2. ความสมดุล  (Balance)  หมายถึง การจัดให้สิ่งนั้นๆ มีน้ำหนักของการจัดภายในภาพ  มีความสมดุลกันทั้งทางด้านซ้ายและขวา เพราะตามปกตินั้นงานศิลปะจะมีส่วนที่เป็นแกนกลางหรือมีศูนย์กลาง  ทำให้แบ่งออกได้เป็นซ้าย ขวา บน ล่าง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ทั้งสองด้าน  โดยเฉพาะซ้าย ขวา มีส่วนสมดุลกัน  ความสมดุลมี 2 ลักษณะ คือ
               2.1  ความสมดุลแบบสมมาตร (Symmetrical Balance) คือ ภาพที่มีรูปร่าง  รูปทรง หรือสีสันที่เหมือนกันทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเป็นอย่างดี
               2.2 ความสมดุลแบบอสมมาตร (Asymmetrical Balance) คือ ภาพที่มีรูปร่างแตกต่างกัน  อยู่ระหว่างเส้นแกนแนวดิ่งและแนวตั้ง แต่สามารถถ่วงน้ำหนักให้สมดุลกันได้

3. จุดสนใจ  (Point of lnterest) ภาพที่จัดแต่ละภาพนั้น อาจจะมีจุดเด่นอยู่เพียงจุดเดียว  หรือหลายแห่งก็ได้
           วิธีสร้างจุดศูนย์กลางของความสนใจ  มีดังนี้ 
                3.1  จุดสนใจโดยเกิดจากการใช้เส้น เส้นที่ให้ความรู้สึกดึงดูดความ สนใจ ต้องอาศัยส่วนประกอบโดยรอบช่วยทำให้เกิดความเด่นชัดขึ้น  เช่น การใช้ความอ่อนแก่ของพื้นหรือเน้นเส้นรอบตัวของสิ่งที่ต้องการให้ เป็นจุดของความสนใจ 
                3.2  จุดสนใจโดยการใช้สี สีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการจัดองค์ ประกอบ  ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ได้ ดังนั้นการใช้สีให้บังเกิดศูนย์ กลางแห่งความสนใจก็ควรคำนึงถึงความสดใสของสี  และความอ่อนแก่ของพื้นที่ภาพด้วย

   4. จังหวะ  (Rhythm)  “จังหวะ” ในที่นี้ขอรวมเอา “บริเวณว่าง” หรือ “ช่องว่าง”  ไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายและรวดเร็ว ในการจัดองค์ ประกอบโดยมีจังหวะก็เหมือนกับเราปรบมือตามจังหวะเพลงนั่นเอง  เพราะจะมีระยะห่างเท่ากันและซ้ำๆ กันตลอดไปจนจบเพลง การจัดองค์ ประกอบให้ได้จังหวะก็เช่นเดียวกับจังหวะเพลง  คือ มีทั้งส่วนที่เป็นตัวรูปแบบซึ่งสลับกันไป หรือการจัดผ้าระบาย ซึ่งย้อยลงเป็นช่วงๆ  ขั้นบันได ก็เป็นตัวอย่างของจังหวะได้ การจัดจังหวะมีหลาย ลักษณะ เช่น  การจัดจังหวะในลักษณะลายหรือการตกแต่ง



อ้างอิง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น